บอร์ด ความรัก,บทความวิเคราะห์ปรากฏการณ์MGSVFevervsแนวคิดของKonamiใครกันแน่ที่ถูกต้อง ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย Bran Starkครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องราวของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจากทัศนคติและนโยบายใหม่ของ Konami และได้พูดถึงเรื่องของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการ Game Develop และ Publisher ต่างๆ แล้ว ในครั้งนี้เราก็จะมาพูดกันต่อเรื่องของปรากฏการณ์จากยอดขายของ Metal Gear Solid V The Phantom Pain ในหัวข้อ”ยอดขายถล่มของ MGSV และความจริงที่ซ่อนอยู่หลังฉากแห่งความสำเร็จนั้น” ก่อนที่จะอ่านบทความต่อไปนี้ อยากขอให้ทุกๆ ท่านเปิดใจให้กว้างและมองอย่างเป็นกลางเสียก่อน.ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันได้เลยครับ.“หลังจากเริ่มวางจำหน่ายไม่นาน ยอดขายของ Metal Gear Solid V The Phantom Pain ก็ทะลุหลัก 3 ล้านชุด!”นับเป็นปรากฏการณ์ที่หลายๆ คนเกิดความสะใจเป็นอย่างยิ่งกับยอดขายที่ถล่มทลายภายในเวลาอันรวดเร็ว รวมไปถึงการที่ Konami ได้ตัด Credit ของ Hideo Kojima ออกไปจากการโปรโมททั้งหมด แต่กลับถูกกระทาชายนาย Hideo Kojima ซ้อนแผนด้วยการเอาตัวเองยัดใส่เข้าไปในเกมด้วยมุกต่างๆ มากมายจนหลายๆ คนพากันฮากลิ้ง แถมยังมีการตั้ง Hashtag แบบเท่ห์ๆ ให้อีกว่า#AHIDEOKOJIMAGAME ใช่ครับ มันคือเกมของ Hideo Kojima มันคือปรากฏการณ์ของยอดขายที่ถล่มทลายครับ แต่… ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้สวยหรูขนาดนั้นถ้าเรามองกันที่ตัวเลขล้วนๆ อย่างที่เคยกล่าวไว้ในพาร์ทแรกว่าการพัฒนาเกมต้องมีต้นทุนและหวังในกำไร… ต้นทุนในการสร้าง Metal Gear Solid V The Phantom Pain จากการเปิดเผยในเบื้องต้นตอนแรกนั้น ต้นทุนสร้างไม่ต่ำกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ… มันไม่ใช่จำนวนน้อยๆ เลยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์ 1 เกม นี่ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากการพัฒนาตัวเกม หากนับจริงๆ แล้วค่าพัฒนาและค่าดำเนินงานต่างๆ อาจจะพุ่งไปถึง 120 – 150 ล้านเหรียญสหรัฐเลยก็เป็นได้ ในส่วนนี้จะขอพูดถึงกระบวนการผลิตของเกม 1 เกมแบบสั้นๆ ประมาณนี้ครับขั้นตอนการประชุมวาง Concept และงบประมาณต่างๆ > ขั้นตอนการพัฒนา > ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ > ขั้นตอนการหาตัวแทนจัดจำหน่าย > ขั้นตอนการจัดจำหน่ายในแต่ละขั้นตอนนั้น นอกเหนือจากพลังแรงกายและแรงใจของทีมงานแล้ว สิ่งที่ผลักดันให้ตัวเกมเดินหน้าต่อไปได้ก็คือสิ่งที่เรียกว่าเงินครับ… การจะทำอะไรได้นั้นมันต้องใช้เงินทั้งนั้น และการหาตัวแทนจัดจำหน่ายอย่าง PlayStation®Store หรือ Steam เอง นั่นก็ไม่ใช่การขายแบบฟรีๆ แน่นอนว่ามันต้องมีส่วนแบ่ง หากสมมุติว่าวางขายในราคา 60$ หักเป็นส่วนแบ่งให้ PlayStation®Store หรือ Steam เป็น % เท่านี้ๆ ที่เหลือก็หักเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกเล็กน้อยเช่นค่า Server หรืออะไรก็ว่าไป ที่เหลือ Konami จะได้เงินส่วนแบ่งจริงๆ สักเท่าไหร่กันต่อ 1 ชุด… ยังไม่รวมค่าภาษีที่จะต้องจ่ายอีก ยอดขายที่คิดเป็นตัวเลขกลมๆ ของ Metal Gear Solid V The Phantom Pain อาจจะแตะหลัก 200 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว… แต่ว่าจะกลับเข้ามาถึง Konami เท่าไหร่ นั่นก็เป็นสิ่งที่ผมเองก็ตอบให้ท่านไม่ได้…และแน่นอนว่าบริษัทเกมยักษ์ใหญ่อย่างโคนามิในเวลานั้น ไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า Metal Gear Solid V The Phantom Pain จะขายดีหรือไม่ จะออกมาแป้กขายไม่ได้หรือเปล่า สิ่งที่รู้ก็คือต้นทุนมหาศาลที่ลงทุนไปกับความฝันในอนาคตเบื้องหน้าที่รอคอยอยู่ ขึ้นชื่อว่าบริษัทเกมยักษ์ใหญ่แล้วย่อมไม่ได้มีเกมเพียงเกมเดียวที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ในช่วงเวลานั้นอาจจะมีเกมอื่นๆ อีกหลายๆ เกมที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาและต้องใช้ต้นทุนในการพัฒนาด้วยเช่นกัน การที่บริษัทจะปรับเปลี่ยนทิศทางและนโยบายต่างๆ เพื่อให้บริษัทไปรอดนั้นส่วนตัวแล้วผมมองว่ามันก็ไม่ผิดครับ มันอาจจะไม่ถูกใจหลายๆ คนแต่ไม่ได้ผิดในแง่ของการทำงานจริง หากทุกท่านลองเปิดใจมองกันสักนิด ผมเชื่อว่าทุกๆ คนจะเข้าใจมุมมองของ Konami มากขึ้นครับสำหรับบทความในครั้งนี้ผมก็อยากจะฝากอะไรถึงเพื่อนๆ กันสักหน่อยนะครับ “อย่าพึ่งตัดสินใครสักคนเพียงเพราะเขาทำอะไรไม่ถูกใจคุณ” ขอบคุณที่ทนอ่านกันมาถึงจุดๆ นี้นะครับ สวัสดีครับ